A.T.A. Carnet คืออะไร ? ของที่ได้รับการยกเว้นอากรมีอะไรบ้าง ?

Last updated: 25 ก.ค. 2566  |  1037 จำนวนผู้เข้าชม  | 

A.T.A. Carnet คืออะไร ? ของที่ได้รับการยกเว้นอากรมีอะไรบ้าง ?

A.T.A. Carnet คืออะไร ? ของที่ได้รับการยกเว้นอากรมีอะไรบ้าง ?

เอกสารค้ำประกันเอ.ที.เอ คาร์เนท์ (A.T.A. CARNET) หมายถึงเอกสารศุลกากรระหว่างประเทศ ที่ใช้ใน การผ่านพิธีการศุลกากรแทนใบขนสินค้าขาเข้า ใบขนสินค้าขาออก ใบสุทธิสำหรับนำกลับเข้ามา เอกสารผ่านแดนควบคุมการส่งของจากด่านศุลกากรแห่งหนึ่งไปยังด่านศุลกากรอีกแห่งหนึ่งภายในประเทศ และเป็นเอกสารค้ำประกันค่าภาษีอากรสำหรับของที่นำเข้ามาชั่วคราวโดยได้รับการยกเว้นอากรภายใต้อนุสัญญาเอ.ที.เอ คาร์เนท์

เอกสารค้ำประกัน (A.T.A. CARNET) 1 ชุด ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ
- ปกหน้าและปกหลัง (สีเขียว) และใบต่อ (สีขาว)
- แบบส่งออกและแบบนำกลับเข้ามาในราชอาณาจักร (สีเหลือง)
- แบบนำเข้าและแบบส่งกลับออกไปนอกราชอาณาจักร (สีขาว) และ
- แบบผ่านแดนขาเข้าและแบบผ่านแดนขาออก (สีฟ้า)

 ของที่ได้รับการยกเว้นอากรโดยใช้ A.T.A. Carnet “หรือเอกสารค้ำประกัน ซึ่งมักจะเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า “หนังสือเดินทางสำหรับสินค้า” (A.T.A. Carnet Passport of Your Goods) เมื่อแบ่งเป็น 2 กรณีคือ

 กรณีที่ 1 หมายถึง “ของที่นำเข้ามาเป็นการชั่วคราว” โดยจะส่งกลับออกไปนอกราชอาณาจักรภายในไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันที่นำเข้ามา ซึ่งในกรณีนี้มีสิทธิได้รับการยกเว้นอากรตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ภาค 4 ประเภทที่ 3

 กรณีที่ 2 หมายถึง “ของที่ส่งออกเป็นการชั่วคราว” และภายหลังนำกลับเข้ามาในราชอาณาจักรภายใน 1 ปี โดยไม่เปลี่ยนแปลงลักษณะหรือรูปแต่อย่างใด และในเวลาที่ส่งออกนั้นได้รับใบสุทธิสำหรับนำกลับเข้ามาแล้ว ซึ่งในกรณีนี้มีสิทธิได้รับการยกเว้นอากรตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ภาค 4 ประเภทที่ 1 ทั้งนี้ ในการปฏิบัติพิธีการศุลกากรเพื่อยกเว้นอากรสามารถใช้เอกสารค้ำประกัน A.T.A. Carnet ได้ โดยจะต้องไม่เกินอายุของเอกสารค้ำประกันดังกล่าว

นอกจากนี้ ของที่ได้รับการยกเว้นอากรดังกล่าว ต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ที่กำหนดในอนุสัญญา ดังนี้

(1) อนุสัญญาระหว่างประเทศเพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับการนำเข้าตัวอย่างสินค้าทางการค้าและวัตถุในการโฆษณา พ.ศ. 2495 (ค.ศ. 1952) ซึ่งมักพบว่าใช้กับการนำเข้าตัวอย่างสินค้าเป็นหลัก

(2) อนุสัญญาศุลกากรว่าด้วยการนำเครื่องมือสำหรับใช้ในวิชาชีพเข้าชั่วคราว พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) โดยมีอุปกรณ์วิชาชีพต่าง ๆ ยกตัวอย่างได้ ดังนี้
(2.1) เครื่องมือสำหรับใช้ในวิชาชีพการสร้างภาพยนตร์ ได้แก่ กล้องถ่ายภาพยนตร์ กล้องถ่ายภาพ
(2.2) เครื่องมือสำหรับใช้ในวิชาชีพด้านความบันเทิง ได้แก่ วงดนตรีออร์เคสตรา รวมทั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ประกอบการแสดงดนตรีนั้น
(2.3) เครื่องมือสำหรับใช้ในวิชาชีพด้านการสำรวจภูมิประเทศหรืองานสำรวจทางภูมิศาสตร์ต่าง ๆ
(2.4) เครื่องมือและเครื่องใช้ที่จำเป็นสำหรับแพทย์ ศัลยแพทย์ สัตวแพทย์ หรือการผดุงครรภ์
(2.5) เครื่องมือสำหรับใช้ในวิชาชีพอื่น ๆ ที่จำเป็นแก่วิชาชีพ เช่น เครื่องมือในการควบคุม บำรุงรักษา การซ่อมแซม หรือเครื่องมือที่จำเป็นในทางธุรกิจ

(3) อนุสัญญาศุลกากรเกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกสำหรับการนำของเข้าเพื่อนำออกแสดงหรือใช้ในงานนิทรรศการ งานแสดงสินค้า งานประชุม หรือเหตุการณ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) คือ การนำของมาใช้เพื่อประโยชน์ในการจัดนิทรรศการ งานแสดงสินค้าหรือการจัดประชุม ได้แก่
(3.1) ของที่นำเข้ามาเพื่อนำออกแสดงหรือสาธิตในงานนิทรรศการ งานแสดงสินค้า หรืองานประชุม
(3.2) ของที่นำเข้ามาเพื่อใช้เกี่ยวข้องกับการนำสินค้าต่างประเทศออกแสดงในงานนิทรรศการ งานแสดงสินค้า หรืองานประชุม
(3.3) เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ รวมถึงอุปกรณ์การแปล เครื่องมือสำหรับการบันทึกเสียงและภาพยนตร์เกี่ยวกับการศึกษา วิทยาศาสตร์ หรือวัฒนธรรม สำหรับใช้ในการประชุมระหว่างประเทศ
(3.4) ฟิล์มภาพยนตร์โฆษณาโพสิทีฟ ขนาดไม่เกิน 16 มม. ที่มีภาพแสดงให้เห็นถึงลักษณะหรือการทำงานของผลิตภัณฑ์หรือเครื่องมืออุปกรณ์ที่ไม่สามารถสาธิตได้โดยเพียงการดูจากตัวอย่างสินค้าหรือแค็ตตาล็อก

(4) อนุสัญญาศุลกากรว่าด้วยการนำเข้าชั่วคราว ซึ่งบริภัณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968) ได้แก่
(4.1) เครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการวิจัยหรือการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ และเครื่องอะไหล่ของเครื่องมือดังกล่าว
(4.2) เครื่องมือทางช่างที่ใช้บำรุงรักษา ทดสอบ วัด หรือซ่อมแซม เครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการวิจัย หรือการศึกษาทางวิทยาศาสตร์
ทั้งนี้ ของหรือสินค้าตามที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ต้องเป็นไปตามคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขตามที่อนุสัญญาฯ ที่เกี่ยวข้องกำหนดไว้ด้วย


 ที่มา : https://www.dst.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=4356:tax0922_3&catid=29&Itemid=180&lang=en และ กรมศุลกากร


WSP PROWORK บริการชิปปิ้ง นำเข้า-ส่งออกสินค้าระหว่างประเทศ 

ช่องทางการขนส่ง : ทางบก ทางเรือ ทางอากาศ

> รวดเร็วในการขอใบอนุญาต บริการเดินพิธีการศุลกากร <

...ด้วยประสบการณ์มืออาชีพจากผู้ให้บริการกว่า 30 ปี

" บริการดี รวดเร็ว มั่นใจได้"  ( ยินดีให้คำปรึกษาฟรี ! )

โทร. 02-540-7733 หรือ 099-356-5928

Line : @wspprowork

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้