Last updated: 25 ก.ค. 2566 | 1320 จำนวนผู้เข้าชม |
ขั้นตอนการนำเข้าสารเคมี มีอย่างไรบ้าง?
1. ตรวจสอบว่าสารเคมีนั้น ส่วนผสมครบ 100% ประกอบด้วยสารอะไรบ้าง
2. ตรวจสอบสารเคมีที่เป็นส่วนผสมนั้นแต่ละตัว ถูกควบคุมการนำเข้าตามกฏหมายใดหรือไม่ หากถูกควบคุม ให้ไปดำเนินการขออนุญาตก่อนสั่งซื้อสินค้าเข้ามาให้เรียบร้อยก่อน
3. ตรวจสอบว่าสินค้านั้น จะต้องเสียภาษีในประเถทพิกัดศุลกากรใด อัตราอากรเท่าใด
4. ติดต่อหาตัวแทนออกของเพื่อทำหน้าที่ปฏิบัติการผ่านพิธีการศุลกากรออกของ (หรือจะดำเนินการเองก็ได้ ถ้ามีความรู้พอ)
5. ลงทะเบียนกับกรมศุลกากรในระบบ paperless เป็นผู้นำเข้าส่งออก
7. เมื่อเรียบร้อยทุกอย่าง ดำเนินการสั่งซื้อสินค้าเข้ามาได้เลย
วิธีการดำเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสำนักควบคุมวัตถุอันตราย
สำหรับผู้ประกอบการที่ตรวจสอบสินค้าแล้วทราบว่าเกี่ยวข้องกับงานในอุตสาหกรรม ท่านจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆดังนี้
วัตถุอันตรายชนิดที่ 1
ไม่ต้องขออนุญาต เพียงแต่ต้องยื่นแจ้งตามแบบฟอร์ม วอ./อก.6 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อนไปดำเนินการตามพิธีการศุลกากร
สถานที่แจ้งทำได้ 2 แห่งคือ ที่สำนักควบคุมวัตถุอันตรายกรมโรงงานอุตสาหกรรม และอินเตอร์เน็ท http://www2.diw.go.th/haz/hazdiw/select_o.asp
จะต้องยื่นแจ้ง ตาม วอ./อก.7(http://www2.diw.go.th/haz/vook7/login.asp) ในกรณีที่อยู่ในบัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายแนบท้ายประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การให้แจ้งข้อเท็จจริง ของผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก หรือผู้มีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. ๒๕๔๗
เอกสารที่ใช้ได้แก่ สำเนา B/L และ INVIOCE = 1 ชุด
เอกสารแบบแจ้งวอ./อก6 = 2 ชุด
สำเนาหนังสือตอบข้อหารือวัตถุอันตรายพร้อมเอกสารแนบ(ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อรับรองเอกสาร) = 1 ชุด
วัตถุอันตรายชนิดที่ 2
จะต้องขอขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย
จะต้องแจ้งตามแบบฟอร์มใบแจ้งการดำเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตราย ชนิดที่ 2(หลังจากที่ได้รับการขึ้นทะเบียนแล้ว)
ยื่นแจ้ง วอ./อก.6 ก่อนไปดำเนินการตามพิธีการศุลกากร
จะต้องมีสถานที่เก็บรักษาวัตถุอันตรายเป็นไปตาม พรบ.วัตถุอันตรายและประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
จะต้องยื่นแจ้ง ตาม วอ./อก.7(http://www2.diw.go.th/haz/vook7/login.asp) ในกรณีที่อยู่ในบัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายแนบท้ายประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การให้แจ้งข้อเท็จจริง ของผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก หรือผู้มีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. ๒๕๔๗
เอกสารที่ใช้ได้แก่ สำเนา B/L และ INVIOCE = 1 ชุด
เอกสารแบบแจ้งวอ./อก6 = 2 ชุด
สำเนาทะเบียน(ถ้ามี) = 1 ชุด
สำเนาใบแจ้งดำเนินการฯชนิดที่ 2 = 1 ชุด
วัตถุอันตรายชนิดที่ 3
จะต้องขอขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย
จะต้องมีใบอนุญาต และได้รับการอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่เสียก่อนจึงจะนำเข้าได้
จะต้องมีสถานที่เก็บรักษาวัตถุอันตรายเป็นไปตาม พรบ.วัตถุอันตรายและประกาศกระทรวง
ยื่นแจ้ง วอ./อก.6 ก่อนไปดำเนินการตามพิธีการศุลกากร
จะต้องยื่นแจ้ง ตาม วอ./อก.7(http://www2.diw.go.th/haz/vook7/login.asp) ในกรณีที่อยู่ในบัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายแนบท้ายประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การให้แจ้งข้อเท็จจริง ของผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก หรือผู้มีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. ๒๕๔๗
เอกสารที่ใช้ได้แก่ สำเนา B/L และ INVIOCE = 1 ชุด
เอกสารแบบแจ้งวอ./อก6 = 2 ชุด
สำเนาทะเบียน(ถ้ามี) = 1 ชุด
สำเนาใบอนุญาตฯ = 1 ชุด
ใบอนุญาตมีอายุ 1 ปี และ 3 ปี และมีเงื่อนไขกำกับการอนุญาตในบางรายการ
ที่มา : http://www.chemtrack.org/Board-Detail.asp?TID=0&ID=5152)
WSP PROWORK บริการชิปปิ้ง นำเข้า-ส่งออกสินค้าระหว่างประเทศ
ช่องทางการขนส่ง : ทางบก ทางเรือ ทางอากาศ
> รวดเร็วในการขอใบอนุญาต บริการเดินพิธีการศุลกากร <
...ด้วยประสบการณ์มืออาชีพจากผู้ให้บริการกว่า 30 ปี
" บริการดี รวดเร็ว มั่นใจได้" ( ยินดีให้คำปรึกษาฟรี ! )
โทร. 02-540-7733 หรือ 099-356-5928
Line : @wspprowork
13 พ.ย. 2566
13 พ.ย. 2566
22 เม.ย 2567