ขั้นตอนการนำเข้า ของใช้ส่วนตัว และของใช้ในบ้านเรือน

Last updated: 25 ก.ค. 2566  |  409 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ขั้นตอนการนำเข้า ของใช้ส่วนตัว และของใช้ในบ้านเรือน

ขั้นตอนการนำเข้า ของใช้ส่วนตัว และของใช้ในบ้านเรือน

ของใช้ส่วนตัว หมายถึง ของส่วนตัวที่เจ้าของนำเข้ามาพร้อมกับตนสำหรับใช้เอง หรือใช้ในวิชาชีพ ตัวอย่างเช่น เสื้อผ้า หนังสือ มีจำนวนพอสมควรแก่ฐานะ เว้นแต่รถยนต์ อาวุธปืนและกระสุนปืน และ เสบียง แต่สุรา บุหรี่ ซิการ์หรือยาเส้นซึ่งเป็นของส่วนตัวที่ผู้เดินทางนำเข้ามาพร้อมกับตนนั้น อธิบดีกรมศุลกากรอาจออกข้อกำหนดยกเว้นอากรให้ แต่ต้องไม่เกินปริมาณดังนี้
 

บุหรี่สองร้อยมวน หรือซิการ์ หรือยาเส้นอย่างละสองร้อยห้าสิบกรัม หรือหลายชนิดรวมกันมีน้ำหนักทั้งหมดสองร้อยห้าสิบกรัม
แต่ทั้งนี้บุหรี่ต้องไม่เกินสองร้อยมวน
สุราหนึ่งลิตร

ของใช้ในบ้านเรือน หมายถึง ทรัพย์สินอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ของใช้ส่วนตัวซึ่งผู้เดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร นำติดตัวเข้ามาในหรือออกไปพร้อมกับตนและเป็นของที่ผู้นำเข้าใช้สอยตามปกติระหว่างอยู่ต่างประเทศ โดยผู้นำเข้าของใช้ในบ้านเรือนต้องมีกรรมสิทธิ์ในของนั้น ๆ อยู่ก่อนการย้ายภูมิลำเนา เช่น โทรทัศน์ ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ เครื่องประดับ ฯลฯ ของใช้ในบ้านเรือนที่ใช้แล้วดังกล่าว เจ้าของต้องนำเข้ามาพร้อมกับตน เนื่องจากในการย้ายภูมิลำเนาและมีจำนวนพอสมควรแก่ฐานะจะได้รับสิทธิยกเว้นอากร

 เอกสารที่ควรจัดเตรียมในการนำเข้าของใช้ในบ้านเรือน
1. ใบขนสินค้าขาเข้าฉบับร่าง
2. หนังสือเดินทาง (Passport)
3. กรณีเป็นชาวต่างประเทศที่ย้ายภูมิลำเนามาอยู่ในประเทศไทยต้องมีหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
3.1 หนังสือสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองรับรองว่าจะได้รับอนุญาตให้อยู่ชั่วคราวเป็นปีๆ ไป
3.2 หนังสืออนุญาตของกรมการจัดหางานว่า ได้รับอนุญาตให้ประกอบอาชีพในประเทศไทยแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
3.3 ชาวต่างประเทศที่เข้ามาในฐานะผู้เชี่ยวชาญ ผู้ชำนาญการพิเศษ หรือภายใต้สัญญาจ้างของหน่วยราชการ ต้องมีหนังสือของหน่วยราชการนั้นๆ รับรองว่าบุคคลผู้นั้นได้รับอนุญาตจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองให้อยู่ในประเทศในประเภท NON-IMMIGRANT แล้ว และจะอยู่ปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 1 ปี
4. กรณีชาวไทยต้องแสดงหลักฐานแสดงว่ามีการย้ายภูมิลำเนา เช่น ใบรับรองจบการศึกษา คำสั่งย้าย หนังสือสัญญาสิ้นสุดการจ้าง
5. ใบตราส่งสินค้า (Bill of Lading /Air Waybill)
6. บัญชีราคาสินค้า (Invoice) (ถ้ามี)
7. บัญชีรายการสิ่งของ (Packing List) หรือเอกสารซื้อขาย (ถ้ามี)
8. ใบอนุญาต กรณีเป็นสินค้าควบคุมการนำเข้า
9 แบบคำร้องขอยกเว้นอากร
10. เอกสารอื่น ๆ เช่น หนังสือมอบอำนาจ หรือหนังสือแจ้งผลตรวจสอบข้อมูลการเดินทางของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กรณีที่การประทับตราเดินทางเข้า-ออก ไม่ครบถ้วน เนื่องจากการเข้า-ออก ประเทศไทยโดยผ่านระบบการตรวจหนังสือเดินทางอัตโนมัติ (Automatic Channel)

ที่มา : กรมศุลกากร


WSP PROWORK บริการชิปปิ้ง นำเข้า-ส่งออกสินค้าระหว่างประเทศ 

ช่องทางการขนส่ง : ทางบก ทางเรือ ทางอากาศ

> รวดเร็วในการขอใบอนุญาต บริการเดินพิธีการศุลกากร <

...ด้วยประสบการณ์มืออาชีพจากผู้ให้บริการกว่า 30 ปี

" บริการดี รวดเร็ว มั่นใจได้"  ( ยินดีให้คำปรึกษาฟรี ! )

โทร. 02-540-7733 หรือ 099-356-5928

Line : @wspprowork

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้