มาทำความรู้จักกับ " CROSS BORDER " ...การค้าข้ามแดน

Last updated: 13 พ.ย. 2566  |  513 จำนวนผู้เข้าชม  | 

มาทำความรู้จักกับ " CROSS BORDER " ...การค้าข้ามแดน

  สวัสดีค่ะ วันนี้ WSP พาเพื่อนๆมาทำความรู้จักกับ CROSS BORDER

หรือ การค้าข้ามแดน เรียกอีกอย่างว่า การค้าผ่านแดน

  เป็นอีกหนึ่งช่องทางของการขนส่งทางโลจิสติกส์ในการนำเข้า-ส่งออกสินค้าจากประเทศต่าง ๆ การค้าผ่านแดน รวมไปถึงการ จัดการพิธีการต่าง ๆ ระว่างประเทศที่มีพรมแดนติดกันกับผู้ส่งออก หรือ แม้กระทั้ง การยินยอมให้มีสินค้าผ่านเขตอาณาจักรของตนเพื่อส่งออกไปประเทศที่สาม เพื่อประโยชน์ซึ่งกันและกัน ตามความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แต่ต้องปฏิบัติตามระเบียบที่กำหนดไว้ของประเทศนั้น ๆ อย่างเคร่งครัด

ตัวอย่างของการค้าข้ามแดน หรือการค้าผ่านแดน

กรณีการขนส่งสินค้า ผ่านแดน จากประเทศไทยไปยังประเทศสิงคโปร์จะต้องผ่าน ประเทศมาเลเซียก่อน จึงผ่านแดนต่อไปยังสิงคโปร์ได้ มีขั้นตอนในการดำเนิน การในฝั่งประเทศไทยดังต่อไปนี้
1. จัดใบส่งสินค้าขาออก
2. จัดทำใบบัญชีสินค้า
3. จัดทำบัญชีสินค้า (ศ.บ.3)
4. ผ่านศุลกากร ได้รับใบขนส่งสินค้าและตรวจสอบแล้ว โดยกรมศุลกากร
5. ตรวจปล่อยสินค้า และ ผูกตราศุลกากร
6. รับบรรทุกการส่งสินค้านอกราชอาณาจักรไทย
7. ส่งมอบเอกสารสำเนาตรวจปล่อยให้กับผู้ขนสินค้าหรือผู้ขนส่ง เพื่อนำไปดำเนินการผ่านแดนต่อไป

กรณีการดำเนินการนำเข้าสินค้าเพื่อส่งออกผ่านแดน ผ่านทางประเทศมาเลเซียไปยังสิงคโปร์มีเงื่อนไขและขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. ต้องจัดทำใบนำเข้าสินค้านำเข้าผ่านแดนตามแบบฟอร์ม หมายเลข 8 พร้อมยื่นเอกสารส่งออกที่ผ่านการตรวจสอบแล้วจากศุลกากรไทยประกอบด้วย โดยเอกสารนี้จะต้องมีการสำแดงท่าปลายทางที่จะส่งไป
2. ต้องส่งด้วย รถบรรทุก หรือ รถบรรทุกคอนเทนเนอร์ แบบทึบ เท่านั้น
3. ต้องเชื่อมคัทซี(โครงสร้างของรถบรรทุก)กับคอนเทนเนอร์ต่อกันทุกครั้ง/ทุกคัน
4. จะต้องขนส่งด้วยเส้นทางที่ประเทศมาเลเซียกำหนดเท่านั้น
5. รถขนส่งใด ๆ จะต้องเป็นรถที่ได้รับการอนุญาตแล้วเท่านั้น

การเสียภาษี


  • มาตรา 10 บัญญัติว่า บรรดาค่าภาษีนั้น ให้เก็บตามพระราช บัญญัตินี้และตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราอากร การเสียภาษี อากรให้เสียแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในเวลาที่ออกใบขนสินค้าให้
    - มาตรา 10 ทวิบัญญัติว่า “ความรับผิดในอันที่ต้องเสีย ภาษีสำหรับ ของที่นำเข้าเกิดขึ้นในเวลาที่นำของเข้าสำเร็จ
    - มาตรา 10ตรีบัญญัติว่า “ความรับในอันจะต้องเสีย ภาษีสำหรับของที่ส่งออกเกิดในเวลาที่ส่งของออกสำเร็จ การคำนวณค่าภาษีให้ถือตามสภาพของราคาของ และพิกัด อัตราศุลกากรที่เป็นอยู่ในเวลาที่ออกใบขนสินค้าให้
    ท่านำเข้า-ส่งออก
    มาตรา 4 บัญญัติว่า “เพื่อความประสงค์แห่งการนำของเข้า หรือส่งของออกศุลกากร ให้รัฐมนตรีมีอำนาจออกกฎกระทรวง
    1. กำหนดท่า หรือที่ใดๆในราชอาณาจักรให้เป็นท่าหรือที่ สำหรับการนำเข้าหรือส่งออก ของประเภทใดๆ หรือทุกประเภททางทะเล หรือทางบก หรือทางอากาศ ให้เป็นท่าหรือที่สำหรับขอคืนอากรของที่ทัณฑ์บน ทั้งนี้โดยมีเงื่อนไขตามแต่จะเห็นสมควร
    2. กำหนดสนามบินใดๆในราชอาณาจักรให้เป็นสนามบิน ศุลกากร โดยมีเงื่อนตามแต่จะเห็นสมควร
    3. ระบุเขตศุลกากร ณ ท่าใด หรือที่ใด หรือสนามบินใดซึ่งกำหนดไว้

    ที่มา : https://bit.ly/3chGoDZ 


WSP PROWORK บริการชิปปิ้ง นำเข้า-ส่งออกสินค้าระหว่างประเทศ 

ช่องทางการขนส่ง : ทางบก ทางเรือ ทางอากาศ

> รวดเร็วในการขอใบอนุญาต บริการเดินพิธีการศุลกากร <

...ด้วยประสบการณ์มืออาชีพจากผู้ให้บริการกว่า 30 ปี

" บริการดี รวดเร็ว มั่นใจได้"  ( ยินดีให้คำปรึกษาฟรี ! )

โทร. 02-540-7733 หรือ 099-356-5928

Line : @wspprowork

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้