ค่าระวาง (FREIGHT) คืออะไร ? มีวิธีคิดอย่างไร ?

Last updated: 23 พ.ค. 2566  |  20233 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ค่าระวาง (FREIGHT) คืออะไร ? มีวิธีคิดอย่างไร ?

ค่าระวาง (FREIGHT) คืออะไร ? มีวิธีคิดอย่างไร ?


ค่าระวาง หรือ ค่าขนส่งสินค้า  (Freight) หมายถึง ค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้า ทั้งทางบก ทางน้ำและทางอากาศ โดยคิดจากน้ำหนักของสินค้าเป็นหลัก และคิดค่าขนส่งเพิ่มเติม กรณีเป็นสินค้าเพิ่มเติม เช่น สัตว์มีชีวิต สินค้าอันตราย เป็นต้น


วิธีการคำนวณค่าระวางสินค้าทางเรือ

 LCL คือ นายหน้า จะเป็นผู้ทำการซื้อค่าระวางเรือในราคาส่งแล้วนำมาขายเราต่อ โดยตู้มี 2 ขนาดได้แก่ 20 ฟุต กับ 40 ฟุต แล้วนำมาแบ่งขายปลีก คือราคาต่อ ลูกบาศก์เมตร , ตามขนาดของสินค้า , กว้าง x ยาว x สูง , คิดน้ำหนักต่อตัน หรือ 1,000 กิโลกรัม

ทั้งนี้การคำนวณน้ำหนักปริมาตร ให้กลายเป็นลูกบาศก์เมตร ส่วนใหญ่มักจะใช้กับสินค้าที่มีลักษณะเป็น Size Insentive เช่น เสื้อผ้า เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามจะต้องมีการชั่งน้ำหนัก โดยทำการเปรียบเทียบว่า ถ้าน้ำหนักปริมาตรสูงกว่า ก็คิดค่าระวางจากน้ำหนักนั่นเอง

·         ส่วนวิธีการคำนวณจากปริมาตรของสินค้า ให้วัดขนาดของสินค้า กว้าง x ยาว x สูง และคำนวณออกมาเป็น ลูกบาศก์เมตร M3 หรือ CBM

·         ยกตัวอย่าง เช่น การคำนวณน้ำหนักปริมาตร จากสูตรข้างบนก็นำมาแทนค่าลงไป กว้าง 150 ซม. x ยาว 200 ซม. x สูง 100 ซม. จะได้เท่ากับ 1,000,000 = 3 CBM ต่อมาจึงนำมาเทียบกับน้ำหนักที่ชั่งมาแล้ว โดยให้น้ำหนักปริมาตรมากกว่า แล้วนำมาคูณกับค่าระวางเรือ USD 10 เท่ากับได้ค่าระวางทั้งหมด USD 30

นอกจากนี้ วิธีการคำนวณจำนวนแบบ CBM ยังนำมาใช้คำนวณ จำนวนสินค้าที่จะสามารถบรรจุได้ใน 1 ตู้ ได้อีกด้วย ยกตัวอย่าง เช่น ตู้ Container ขนาด 20 ฟุตทั่วไป สามารถบรรจุของได้ไม่เกิน 28 CBM และ ตู้ Container ขนาด 40 ฟุต บรรจุได้ประมาณ 55-58 CBM

วิธีการคำนวณค่าระวางสินค้าทางอากาศ

  ส่วนมากแล้วการคำนวณค่าระวางสินค้าทางอากาศ จะอิงตามน้ำหนักสินค้าเป็นหลัก แต่มีบางกรณีที่สินค้าขนาดใหญ่ ค่าระวางจะถูกอิงจากปริมาตรของสินค้าแทน เนื่องจากว่าพื้นที่ของเครื่องบินมีค่อนข้างจำกัด ดังนั้นถ้าสินค้ามีขนาดใหญ่จะทำให้เครื่องบินเสียพื้นที่ในการวางสินค้าชนิดอื่น เลยทำให้มีการคำนวณค่าระวาง 2 แบบ โดยมีตัวอย่างดังนี้

 

  สินค้า A มีน้ำหนัก 100 กิโลกรัม ขนาด 50x50x50 ซม.

น้ำหนัก = 100 กิโลกรัม

ปริมาตร = 50x50x50 = 125,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร แปลงเป็นน้ำหนักโดยการหาร 6,000

น้ำหนักโดยปริมาตร = 125,000/6000 = 20.83 กิโลกรัม

ดังนั้นสินค้าชนิดนี้จะถูกคิดค่าระวางอิงตามน้ำหนักสินค้า

 

  สินค้า B มีน้ำหนัก 30 กิโลกรัม ขนาด 360x30x40 ซม.

น้ำหนัก = 30 กิโลกรัม

ปริมาตร = 360x30x40 = 432,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร แปลงเป็นน้ำหนักโดยการหาร 6,000

น้ำหนักโดยปริมาตร = 432,000/6,000 = 72 กิโลกรัม

ดังนั้นสินค้าชนิดนี้จะถูกคิดค่าระวางอิงตามปริมาตรของสินค้า

 

 

 

ที่มา : https://www.prosofterp.com/Article/Detail/14303

          https://www.autrans.net

          https://www.freightexpress.co.th


WSP PROWORK บริการชิปปิ้ง นำเข้า-ส่งออกสินค้าระหว่างประเทศ 

ช่องทางการขนส่ง : ทางบก ทางเรือ ทางอากาศ

> รวดเร็วในการขอใบอนุญาต บริการเดินพิธีการศุลกากร <

...ด้วยประสบการณ์มืออาชีพจากผู้ให้บริการกว่า 30 ปี

" บริการดี รวดเร็ว มั่นใจได้"  ( ยินดีให้คำปรึกษาฟรี ! )

โทร. 02-540-7733 หรือ 099-356-5928

Line : @wspprowork


Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้